เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 1.ปฐมสัทธาสูตร
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
1. มีศรัทธา 2. มีศีล
3. เป็นพหูสูต 4. เป็นธรรมกถึก
5. เข้าไปสู่บริษัท 6. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
7. ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด
ความเลื่อมใสได้รอบด้าน1 และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง2”
ปฐมสัทธาสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม และวจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. 3/8/319)
2 บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงบริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ ด้วยธรรมของสมณะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/71-72/280)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :380 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 2.ทุติยสัทธาสูตร
2. ทุติยสัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ 2
[72] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อ
ว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็น
ธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้
สัมผัสสันตวิโมกข์1 ไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่2 ฯลฯ ได้สัมผัส
สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น
ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่ง
ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
1. มีศรัทธา 2. มีศีล
3. เป็นพหูสูต 4. เป็นธรรมกถึก

เชิงอรรถ :
1 สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก กล่าวคือนิวรณ์ 5 และ
เพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/9/320)
2 กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/26/8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :381 }